วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อันดับที่ 2 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 3 ตอน ยุทธนาวี




เข้าฉายวันที่ : 31 มีนาคม 2554

ภาค 1 องค์ประกันหงสา
ภาค 2 ประกาศอิสรภาพ
ภาค 3 ยุทธนาวี
ภาค 4 สงครามยุทธหัตถี

กำกับการแสดง : หม่อมเจ้า ชาตรีเฉลิม ยุคล
อำนวยการสร้าง : หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา, คุณากร เศรษฐี
บทภาพยนตร์ : หม่อมเจ้า ชาตรีเฉลิม ยุคล, ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์
ออกแบบงานสร้าง : กรัณย์พล ทัศพร, สุดเขตร ล้วนเจริญ, ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล
กำกับภาพ : อานุภาพ บัวจันทร์
กำกับแสง : Stanislav Dorsic
ดนตรีประกอบ : Sandy McLelland
Visual Effect Supervisor : วรภัณฑ์ ลีละชาต
ลำดับภาพ : หม่อมเจ้า ชาตรีเฉลิม ยุคล, หม่อมราชวงศ์หญิง ปัทมนัดดา ยุคล
กำกับศิลป์ : นิวัฒน์ ทุมไช, สุดเขตร ล้วนเจริญ
คัดเลือกนักแสดง : เบญจพร ปัญญายิ่ง, เนติมา โพธิ์เงิน, พัชรินทร์ ปกทิม
บันทึกเสียง : ไชยเชษฐ์ เศรษฐี
ออกแบบเครื่องแต่งกาย : หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา
เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ : สุกัญญา มะเรืองประดิษฐ์, สุมาลี จันก้อน, ฐิติกรณ์ ศรีชื่น
แต่งหน้า-ทำผม : มนตรี วัดละเอียด
ผู้ช่วยผู้กำกับการแสดง : สุรศักดิ์ วงษ์ไทย, จารุพงศ์ อินทวงษ์, พยุงศักดิ์ นฤภัย, ปณิชา ปัณณสิริชาติ, ภารดี ภูปรัสสานนทน์, ธนากร สกุลกนก, ปรมินทร์ ธนพรหมศิริกุล, ใหม่ เต่าพาลี, อรรถเดช กิจวาศน์, เบญจพร ปัญญายิ่ง
ผู้กำกับการแสดง หน่วยที่ 2 : กิตติกร “เรียว” เลียวศิริกุล, ไพโรจน์ ประสารทอง

ทุนสร้าง 940 ล้านบาท
โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล 376 ล้านบาท ผ่าน
กระทรวงพาณิชย์ 330 ล้านบาท และ
กระทรวงวัฒนธรรม 46 ล้านบาท
ระยะเวลาดำเนินการ (ภาค 3-4) 2548 – 2554

นักแสดง : พันตรี วันชนะ สวัสดี, แอฟ ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ, จา พนม, พันโทวินธัย สุวารี, นพชัย ชัยนาม, อินทิรา เจริญปุระ, ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง, สรพงษ์ ชาตรี

เรื่องย่อหนัง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3 ตอน ยุทธนาวี
หลังจากสมเด็จพระนเรศวร ประกาศเอกราช อยุธยาไม่ขอเป็นเมืองขึ้นต่อหงสาวดีอีกต่อไป ทำให้พระเจ้าหงสาวดีพระองค์ใหม่นั้นคือ พระเจ้านันทบุเรง เกรงว่าการประกาศเอกราชของ สมเด็จพระนเรศวรในครั้งนี้มีผลทำให้เหล่าประเทศราชเอาเยี่ยงอย่างและแข็งข้อต่อพม่า แต่ด้วยพระเจ้านันทบุเรง มีศึกอังวะติดพันอยู่ จึงส่งทัพของพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่ หวังเพื่อมาตีอยุธยาให้ย่อยยับ โดยที่ ทัพพระยาพะสิมยกเข้ามาทาง ด่านพระเจดีย์สามองค์ ส่วนพระเจ้าเชียงใหม่ นรธาเมงสอ มาจากทางเหนือ ตั้งค่ายทัพที่เมืองอ่างทอง

ส่วนทางด้านอยุธยาหลังจากชนะศึกมาหลายครั้งทำให้กิตติศัพท์ของสมเด็จพระเรศวรเป็นที่กล่าวถึงไปไกลถึง เมืองละแวก ซึ่งแต่เดิมได้ส่งสายลับคือ จีนจันตุ เข้ามาสืบข่าว แต่ก็โดนพระนเรศวรจับได้ว่ามีสายลับแอบเข้าเมืองอยุธยา โดยทรงนำกองทัพเรือออกติดตามจนเกิดเป็น ยุทธนาวี แต่สุดท้าย พระเจ้าเมืองละแวกก็เปลี่ยนพระทัยมีไมตรีจิตต่ออยุธยา โดยส่งพระศรีสุพรรณราชาธิราชผู้เป็นอนุชามาสานสัมพันธไมตรี โดยที่มิทรงทราบว่า พระศรีสุพรรณราชาธิราช ไม่ทรงเต็มพระทัยในการครั้งนี้

การเตรียมรับศึกหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรทรงปรับยุทธศาสตร์การรบเสียใหม่ โดยมิปล่อยให้ทัพพระยาพะสิมและนรธาเมงสอเจ้าเมืองเชียงใหม่ เข้ามารวมกำลังผนึกล้อมร่วมกันตีกรุงศรีอยุธยา ทรงจัดทัพออกรับศึกพระยาพะสิมที่เมืองสุพรรณบุรี ตั้งพระทัยจะตีทัพพระยาพะสิมก่อน แล้วจึงเทกำลังเข้าตีทัพพระเจ้าเชียงใหม่เบื้องภายหลัง การทั้งหมดทั้งสิ้นต้องทำแข่งกับเวลา หากพลาดท่า แม้เพียงก้าวอยุธยาก็ไม่พ้นพินาศ

ภายใต้บรรยากาศกลิ่นอายสงครามนับแต่ศึกจีนจันตุ ตลอดถึงศึกพระยาพะสิมและ ศึกพระเจ้าเชียงใหม่ ในพระนครก็เกิดไฟรักโชติขึ้นท่ามกลางไฟสงคราม กลายเป็นเรื่องรักระหว่างรบ ด้วย “เลอขิ่น” ธิดาเจ้าเมืองคัง มีอันมาพบ “เสือหาญฟ้า” คนรักเก่าที่รอดชีวิตมาแต่ศึกเมืองคัง โดยบังเอิญ เกิดขัดข้องเป็นรักสามเส้ากับ “พระราชมนู” คนรักใหม่ทหารเสือพระนเรศ ไฟรักยิ่ง ลุกลามเมื่อนางพระกำนัลทรงเสน่ห์นาม “รัตนาวดี” มาทอดไมตรีให้พระราชมนู เกิดเป็นปมรัก ซ้อนปมรบ

ทางฝ่ายหงสาวดีนั้น พระเจ้านันทบุเรงกษัตริย์พม่ารามัญพระองค์ใหม่มีใจพิศวาส พระสุพรรณกัลยา พระพี่นางในสมเด็จพระนเรศ หมายจะได้มาแนบข้าง ซ้ำพระนเรศอนุชา มาประกาศเอกราชท้าทายอำนาจของพระองค์ ทำให้สถานะของพระสุพรรณกัลยาในฐานะ องค์ประกันต้องสุ่มเสี่ยงต่อราชภัย พระสุพรรณกัลยาซึ่งขณะนั้นมีพระราชโอรสด้วยพระเจ้าบุเรงนองแล้ว ทรงถูกพระเจ้านันทบุเรงข่มขู่ บีบบังคับให้ต้องเลือกระหว่างการยอมพลีกายถวายตัวเป็น บาทบริจาริกา หรือยอมจบชีวิตด้วยการถูกย่างสดตามโทษานุโทษของพระอนุชา ชะตากรรมของพระพี่นางสุพรรณกัลยานั้นสุดรันทด

เมื่อเสร็จศึกอังวะพระเจ้านันทบุเรงแห่งหงสาวดีก็ทรงเตรียมทำศึกครั้งสำคัญกับอยุธยา ทัพนี้หมายมุ่งบดขยี้อยุธยาลงเป็นผุยผงหากทัพพระยาพะสิมและทัพพระเจ้า เชียงใหม่ตีกรุงไม่สำเร็จ แต่สมเด็จพระนเรศก็สู้ศึกนันทบุเรงและนำพากรุงศรีอยุธยา ให้รอดจากภัยสงคราม กู้บ้านเมืองมิให้ต้องตกเป็นประเทศราชหงสาซ้ำสองได้ด้วยกุศโลบาย การศึกที่เหนือชั้นด้วยพระอัจฉริยภาพ


ที่มา  http://www.adintrend.com/show_admovie.php?id=5768

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น